“กินอะไรก็ไม่ถูกปาก เบื่ออาหาร” เชื่อว่าเป็นปัญหาสุขภาพสุดคลาสสิกที่ผู้สูงอายุหลายคนพบเจอ และเป็นปัญหาที่ลูกหลานได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ เพราะนี่คือสัญญาณของโรคร้ายในผู้สูงอายุที่ไม่ควรละเลย เพราะอาการเบื่ออาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ
ซึ่งผลร้ายที่จะตามมาก็คือ ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และอาจส่งผลรุนแรงถึงชีวิตได้ อีกทั้งยังทำให้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนอาจทรงตัวได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดการหกล้ม และได้รับบาดเจ็บ เชื่อเถอะว่าหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นย่อมไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป
อะไรคือสาเหตุของอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ ชวนชาว Gen ยัง Active มาเข้าใจไปพร้อมกัน
1. ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งอยากอาหารน้อยลง
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้กำลังจะลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายมีความต้องการทานอาหารน้อยลง อาหารจานโปรดที่เคยชอบกินก็ไม่อยากกินอีกต่อไป โดยความอยากอาหารในผู้ชายจะลดน้อยลงมากกว่าผู้หญิง เนื่องจาก ระบบประสาทในการรับกลิ่นและรสชาติของอาหารเสื่อมลงตามวัย ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของสารต่าง ๆ ในทางเดินอาหาร และสมอง
ส่งผลให้ในระยะแรก ผู้สูงอายุอาจมีน้ำหนักตัวลดลงบ้าง ซึ่งถ้าน้ำหนักตัวลดลงน้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเดิมที่ชั่งเมื่อ 6 เดือนก่อน (เช่น เดิมทีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม แล้วลดลงเหลือ 57 กิโลกรัม) โดยที่ประสาทในการรับกิน รับรส และสารในทางเดินอาหาร และสมองยังปกติ ก็ไม่น่ามีสาเหตุร้ายแรงใดซ่อนอยู่ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ส่งผลให้ในระยะแรก ผู้สูงอายุอาจมีน้ำหนักตัวลดลงบ้าง ซึ่งถ้าน้ำหนักตัวลดลงน้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเดิมที่ชั่งเมื่อ 6 เดือนก่อน (เช่น เดิมทีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม แล้วลดลงเหลือ 57 กิโลกรัม) โดยที่ประสาทในการรับกิน รับรส และสารในทางเดินอาหาร และสมองยังปกติ ก็ไม่น่ามีสาเหตุร้ายแรงใดซ่อนอยู่ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ¹
2. สิ่งแวดล้อมรอบตัวเปลี่ยน
อาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ ยังเกิดจากปัจจัยภายนอก อย่างสภาวะแวดล้อมได้ เช่น ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียว หรือแม้ในช่วงระหว่างวันที่ลูกหลานออกไปทำงาน เมื่อต้องกินข้าวคนเดียว ทำให้กินข้าวได้น้อยลง ซึ่งหากมีเพื่อน หรือ ญาติมาเยี่ยม มากินข้าวด้วย ก็จะกินได้มากขึ้น
นอกจากนี้ รสชาติของอาหาร การไปซื้อ หรือเตรียมอาหารเองไม่ได้ เนื่องจากความกลัวเรื่องภาวะไขมันในเลือดสูงมากเกินไป ก็อาจจะทำให้ผู้สูงอายุไม่กล้ากินอาหารใด ๆ หากเป็นเช่นนี้ แนะนำให้ลองปรึกษาคุณหมอ
3. สุขภาพจิต
ไม่ใช่แค่สาเหตุทางกาย แต่เรื่องของจิตใจก็เป็นสาเหตุที่สำคัญมากต่ออาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจาก ‘สารเซโรโทนิน’ ในสมองลดน้อยลง อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้า เช่น การสูญเสียบุคคลที่รัก การเกษียณจากงานประจำที่ทำมาตลอดชีวิต การที่ลูกหลานแยกครอบครัวออกไป ความมั่นคงของรายได้ที่ลดลง ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลทำให้ผู้สูงอายุไม่เจริญอาหารเท่าที่ควร
แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือไม่สามารถบอกกับบุคคลรอบข้างได้ หรืออาจจะ บอกไปแล้วแต่คนใกล้ชิดคิดว่าเป็นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้น แนะนำให้คนดูแล คอยสังเกตอาการผู้สูงอายุในบ้าน
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ก็มักมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตนเองกำลังผอมลง เนื่องจากความสามารถในการดูแลตนเองลดลง รวมถึงประสาทการได้กลิ่นลดลง อาการหิวเมื่อท้องว่างหรือความอยากอาหารจึงหายไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยากลุ่มที่ใช้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ก็อาจทำให้ผู้สูงอายุมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดลงมาก จึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางให้การบำบัดรักษา รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการกินของผู้ป่วยด้วย
4. โรคภัยไข้เจ็บ
อีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ คือโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี เช่น
1) ประสาทการรับกลิ่นและรสอาหารผิดปกติ
โดยธรรมชาติ ผู้สูงอายุจะมีการสูญเสียต่อมรับรสบนลิ้น และหากต้องใช้ฟันเทียมก็อาจไปบดบังต่อมรับรสอีกด้วย อีกทั้งสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับกลิ่นก็ทำงานลดลง ทั้งยังมีโรคต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้เยื่อจมูกอักเสบ โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง ภาวะไตหรือตับวาย และการใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ประสาทการรับกลิ่นและรสของผู้สูงอายุผิดปกติ เวลากินจึงไม่ค่อยรับรู้รสชาติและกลิ่นอาหาร นำมาสู่อาการเบื่ออาหารนั่นเองโดยธรรมชาติ ผู้สูงอายุจะมีการสูญเสียต่อมรับรสบนลิ้น และหากต้องใช้ฟันเทียมก็อาจไปบดบังต่อมรับรสอีกด้วย อีกทั้งสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับกลิ่นก็ทำงานลดลง ทั้งยังมีโรคต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้เยื่อจมูกอักเสบ โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง ภาวะไตหรือตับวาย และการใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ประสาทการรับกลิ่นและรสของผู้สูงอายุผิดปกติ เวลากินจึงไม่ค่อยรับรู้รสชาติและกลิ่นอาหาร นำมาสู่อาการเบื่ออาหารนั่นเองโดยธรรมชาติ ผู้สูงอายุจะมีการสูญเสียต่อมรับรสบนลิ้น และหากต้องใช้ฟันเทียมก็อาจไปบดบังต่อมรับรสอีกด้วย อีกทั้งสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับกลิ่นก็ทำงานลดลง ทั้งยังมีโรคต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้เยื่อจมูกอักเสบ โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง ภาวะไตหรือตับวาย และการใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ประสาทการรับกลิ่นและรสของผู้สูงอายุผิดปกติ เวลากินจึงไม่ค่อยรับรู้รสชาติและกลิ่นอาหาร นำมาสู่อาการเบื่ออาหารนั่นเอง²
มากไปกว่านั้น อีกหนึ่งปัญหาสุดคลาสสิกที่ผู้สูงอายุหลายคนพบ คือโรคเหงือก ซึ่งมีผลต่อต่อมรับรสของผู้สูงอายุ และทำให้เวลาเคี้ยวอาหารอาจมีอาการปวดหรือเสียวฟัน จึงเลือกกินแค่บางอย่าง ทำให้ขาดสารอาหารที่ครบถ้วนหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารจำพวกผักสด และเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวยาก ควรพาผู้สูงอายุไปพบทันตแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นระยะ คราวนี้จะกินอะไรก็อร่อยขึ้น มีความสุขมากขึ้นอย่างแน่นอน
2) ผลข้างเคียงของยา
เชื่อเถอะว่าผู้สูงอายุแทบจะร้อยทั้งร้อย ต้องมีกระเป๋ายาส่วนตัวกันแทบทุกคน หากเกิดการเจ็บป่วยแล้วก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกินยา ซึ่งมียาอยู่หลายประเภทที่เมื่อผู้สูงอายุกินแล้ว จะทำให้มีอาการเบื่ออาหารได้โดยไม่รู้ตัว เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาภาวะซึมเศร้าบางชนิด โดยยาเหล่านี้อาจทำให้ผู้สูงอายุมีอาการปากคอแห้ง การรับรส และการกลืนผิดปกติ หรือยาแก้ปวดข้อในกลุ่มที่ไม่ใช้สารสเตียรอยด์ ยาแก้หอบหืดพวกบางชนิดที่ทำให้มีอาการท้องอืด คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร รวมไปถึงยาโรคหัวใจบางชนิด ที่ไปรบกวนการได้กลิ่นและการรับรส2 ซึ่งหากมีอาการเบื่ออาหารร่วมกับการกินยาเหล่านี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสม
3) การกลืนลำบาก
หนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร คือ อาการกลืนลำบาก ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น มีความลำบากที่จะเริ่มกลืน ไอ จาม สำลักอาหาร และน้ำขึ้นในจมูกขณะที่กลืน ไปจนถึงกลืนอาหารแล้วรู้สึกว่าอาหารติดอยู่ในหน้าอก โดยสาเหตุอาจมาจากความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการกลืนหรือที่หลอดอาหาร เช่น มีเนื้องอกในหลอดอาหาร หลอดอาหารตีบตัน หรือมีก้อนผิดปกติมากดทับหลอดอาหารจากทางด้านนอก เช่น ต่อมน้ำเหลืองในช่องอกที่โตขึ้น หรือหลอดเลือดแดงที่โตมากดทับ ซึ่งหากมีอาการเบื่ออาหารร่วมกับอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
4) โรคประจำตัวต่าง ๆ
โรคมะเร็งถือเป็นต้นตอของอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ โรคติดเชื้อชนิดเรื้อรัง อย่างวัณโรค หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ต่อมหมวกไตทำงานลดลง ภาวะแคลเซียมสูงในเลือด ล้วนเป็นสาเหตุของอาการเบื่ออาหารได้เช่นกัน
การดูแลรักษาอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ
ปัญหาเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ ใช่ว่าจะไร้ซึ่งหนทางเยียวยา เพราะรู้ก่อน แก้ไขได้ ไม่ต้องกังวล จะเห็นได้ว่าสาเหตุบางประการสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายและแก้ไขได้ทันที เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่ในระหว่างที่แก้ไข ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องให้อาหารเสริมทางการแพทย์ชนิดน้ำ หรืออาหารเสริมชนิดผงชงดื่มบ่อย ๆ หรือในรายที่จำเป็น อาจต้องใส่สายยางทางจมูกชั่วคราวสำหรับให้อาหารเหลว เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมได้
เพราะฉะนั้น การทำความเข้าใจและรู้สาเหตุของภาวะเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ จะช่วยทำให้เราสามารถวางแผนการดูแล ผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
เรียบเรียงโดย : ศ. นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เอกสารอ้างอิง 1. Morley JE. Pathophysiology of anorexia. Clin Geriatric Med. 2002 Nov;18(4):661-73, v. doi: 10.1016/s0749-0690(02)00047-2. PMID: 12608495. 2. J M Boyce, G R Shone, (2006). Effects of ageing on smell and taste. Department of Otorhinolaryngology-Head and Neck Surgery, University Hospital of Wales, Cardif 3. ประเสริฐ อัสสันตชัย, (2555). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน (พิมพ์ครั้งที่ 2).คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.หิดล
NP-TH-NA-WCNT-230013