line
เมนู
รู้แล้วยัง

เรื่องสุขภาพต้องรู้! จาก ‘ศิริราช EXPO 2024’ ที่รู้แล้วชีวิตยิ่งแฮปปี้

คัมภีร์สุขภาพกายใจฉบับ Gen ยัง Active เพื่อคุณภาพชีวิตดี๊ดีทุกมิติ
แชร์บทความนี้
line
line
line

Are you Ready?

We Are Ready!

ถ้าคุณพร้อมแล้ว! เราขอชวน Gen ยัง Active 50+ มาอ่านเรื่องน่ารู้จากงาน ‘ศิริราช EXPO 2024’ งานสำหรับแสดงนวัตกรรมสุดล้ำด้านการแพทย์ พร้อมความรู้ด้านสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่หากรู้แล้วจะช่วยให้สุขภาพกายและสุขภาพใจสุขเสรี แฮปปี้ขึ้นเป็นกอง!

กระบวนการชราภาพ เริ่มแล้วตั้งแต่อายุ 30

รู้หรือไม่? ว่าเข้าวัย 30 ร่างกายก็เริ่มชราได้ โดย ศ. นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ไว้ว่า

วิธีที่จะช่วยชะลอกระบวนการชราภาพ ให้เหล่า Gen ยัง Active นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งแรกเลยคือ เริ่มด้วย การออกกําลังกาย เลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย เพราะในวัย Gen ยัง Active อาจต้องระวังเรื่องสุขภาพข้อเข่าเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก¹ เลยแนะนำเป็นการว่ายน้ำ เพราะจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกได้²

ต่อไปเรื่อง การกินอาหาร แนะนำให้เน้นกินโปรตีนเยอะ ๆ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่หากเป็นเรื่องของกระดูก ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ³

ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสุขภาพ รู้แล้วรับมือได้

ทุกวันนี้มีปัจจัยภายนอกรอบตัวที่ส่งผลต่อสุขภาพวัย Gen ยัง Active โดยเฉพาะเรื่องความร้อน และฝุ่นพิษ PM2.5 ซึ่ง รศ. นพ.สัมมน โฉมฉาย หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา และประธานฝ่ายวิชาการโครงการ Gen ยัง Active 50+ ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจและน่ารู้เอาไว้

เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวของทุกคน อย่าง คลื่นความร้อน (Heat wave) ซึ่งส่งผลให้เกิด โรคลมแดด หรือที่เรียกว่า Heat Stroke ได้ ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกิดจากความร้อน เริ่มได้ตั้งแต่อากาศอุณหภูมิ 34-35 องศาเซลเซียส โดยความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เพราะฉะนั้นแม้ Gen ยัง Active จะออกกําลังกายในที่ร่ม ก็อาจเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ การรู้ลิมิตร่างกายตัวเองจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด⁴

สำหรับ ฝุ่น PM2.5 เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบไปถึงปอด และสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทั้งยังมีหลักฐานหลายอย่างว่าทําให้เกิดโรคมากมาย ทั้งโรคหลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม หัวใจ ไต เบาหวาน ตับ และไขมันพอกตับ ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลต่อสุขภาพผิวหนังอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นกระตุ้นให้ผิวเหี่ยวเร็วขึ้น อักเสบ และเม็ดสีเยอะมากขึ้น ซึ่งแนะนำให้เช็กค่าฝุ่นก่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น เวลาออกกำลังกาย เราจะหายใจเร็ว และลึกขึ้น ก็จะสูดฝุ่นพิษเข้าไปในร่างกายมากขึ้นด้วยนั่นเอง⁵

โรคงูสวัดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตวัย Gen ยัง Active

เมื่ออายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันร่างกายจะยิ่งน้อยลง ซึ่งโรคที่ได้ยินบ่อยขึ้นเมื่อเข้าสู่วัย Gen ยัง Active คือ โรคงูสวัด เพราะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตไม่น้อย ที่มาที่ไปของโรคงูสวัดคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร รศ. นพ.วินัย รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยคลินิก และที่ปรึกษาโครงการ Gen ยัง Active 50+ พร้อมให้ความรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคงูสวัด

วัย Gen ยัง Active 50+ ไม่ใช่แค่กล้ามเนื้ออย่างเดียวที่เสื่อมลง ระบบภูมิต้านทานก็เสื่อมลงไปด้วย เพราะฉะนั้นถึงแม้จะไม่มีโรคประจําตัวอะไรเลย พอถึงวัย 50+ ภูมิคุ้มกันร่างกายจะค่อย ๆ ลดลงตามวัย และหากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว จะมีเชื้อไวรัสตัวหนึ่งชื่อ Varicella zoster ซ่อนอยู่ที่ปมประสาทด้านหลัง เมื่อภูมิตกก็จะกำเริบออกมาเป็นโรคงูสวัด เริ่มจากมาตามเส้นประสาท เป็นตุ่มน้ำใส ๆ แนวยาว ลักษณะคล้ายงู⁶

สำหรับวิธีป้องกัน เริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพตัวเอง นอนดี กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงปรึกษาแพทย์สำหรับเรื่องวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

3 เทคนิคดูแลวัย Gen ยัง Active ให้แฮปปี้ดีต่อใจ

นอกจากวัย Gen ยัง Active 50+ ที่ต้องรู้เท่าทันสุขภาพของตัวเอง ในส่วนของผู้ดูแล ต้องรับมืออย่างไร? กับการที่คนในครอบครัวเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย มีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางร่างกายและจิตใจ ศ. นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล ร่วมแชร์ทริคน่าสนใจให้จดแล้วนำไปใช้

ทริคที่ 1 สังเกตใกล้ชิด

การสังเกตความผิดปกติทางร่างกาย ทำได้ด้วยการใช้เวลากับ Gen ยัง Active ในครอบครัวให้มากขึ้น ถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติ จากนั้นควรโฟกัสที่ความปลอดภัยในบ้าน ต้องระมัดระวังเรื่องการหกล้มเป็นพิเศษ หมั่นเช็กสภาพแวดล้อมในบ้านให้มีความเสี่ยงการหกล้มให้น้อยที่สุด หรือต่อไปในอนาคตอาจจะต้องวางแผนในการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงวัย อย่างเรื่องห้องน้ำที่ต้องกว้างพอที่รถเข็นต้องเข้าได้

ทริคที่ 2 เรื่องยาเรื่องใหญ่

อีกเรื่องที่ควรระวัง คือการใช้ยา ลูก ๆ จะต้องคอยดูแลความถูกต้องของการใช้ยา เพราะบางครั้งผู้สูงอายุอาจจะทานยาเอง แล้วเข้าใจว่าทานถูก ซึ่งบางครั้ง ผู้สูงอายุ อาจทานยาไม่ตรงกับที่ทางโรงพยาบาลสั่ง ฉะนั้นต้องให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้องของการใช้ยา ใช้เวลากับท่านให้มากขึ้น รวมถึงพาท่านไปตรวจสุขภาพภาพประจําปี

ทริคที่ 3 ปรับนิดเพื่อเข้าใจ

ถ้าต้องดูแลผู้สูงวัยที่อาจจะมีทั้งอาการทางกาย และทางใจ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และอารมณ์ ดังนั้นการปรับจูนอารมณ์ของผู้ดูแลจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ดูแลควรเป็นผู้เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และอารมณ์ก่อน เพราะหากผู้สูงวัยมีโรคประจำตัวอาจมีความเครียดอยู่แล้ว การคาดหวังให้เขาปรับตัวก่อน อาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งได้

และนี่คือคัมภีร์สุขภาพดีฉบับ Gen ยัง Active ที่พอจะเป็นไกด์ไลน์ในการดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตสุขเสรี เพื่อที่จะได้เอนจอยกับโลกใบนี้ไปอีกนานแสนนาน

เรียบเรียงโดย: จีเอสเค

เอกสารอ้างอิง :
1. บำรุงกระดูก ให้ถูกโภชนาการ. (n.d.). Siphhospital.com. Retrieved May 16, 2024, from https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/calcium
2. สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกาย. (2018, June). Anamaimedia. https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/exercises-for-seniors/
3. โภชนาการในผู้สูงอายุ. (n.d.). Bumrungrad International Hospital. Retrieved May 16, 2024, from https://www.bumrungrad.com/th/medical-clinics-bangkok-thailand/geriatric/services/nutrition
4. การวิเคราะห์ค่าดัชนีความร้อน (HEAT INDEX ANALYSIS). (n.d.). THAI METEOROLOGICAL DEPARTMENT. Retrieved May 16, 2024, from http://www.rnd.tmd.go.th/heatindexanalysis/
5. PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง. (n.d.). คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. Retrieved May 16, 2024, from https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1368
6. Harpaz R;Morbidity and Mortality Weekly Report;2008;57;1-40

NP-TH-NA-WCNT-240023

GSK ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของท่านและเราให้คำมั่นสัญญาว่าเราจะจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยความระมัดระวัง
หากท่านต้องการทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บ และวิธีการที่เราเก็บข้อมูลเหล่านั้น ท่านสามารถศึกษาได้จาก ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว